ยิ่งความแตกร้าวระหว่าง “พรรคพลังประชารัฐ” กับ “พรรคประชาธิปัตย์” ในกรณีชิงความได้เปรียบในการเลือกตั้งซ่อมที่นครศรีธรรมราชมาก เพียงใดจะยิ่งมีผลสะเทือนต่อการอภิปรายทั่วไปมากเพียงนั้น
นี่คือผลสะเทือนที่พรรคพลังประชารัฐจักต้อง “ตระหนัก” มากยิ่ง กว่าพรรคประชาธิปัตย์
คำว่า “มารยาท” ทางการเมืองที่ดังกึกก้องมาจากภายในพรรค ประชาธิปัตย์รวมถึงจากปากของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์จึงสำคัญและมีความหมาย
นี่มิได้เป็นการเตือนไปยังบรรดาบริษัทบริวารที่กำลังสำแดงบท บาทอยู่ภายในพรรคพลังประชาธิปัตย์ หากแต่ยังเป็นการสื่อโดยตรง ไปยังหัวหน้าพรรค
ในเมื่อหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐคือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี สัญญาณนี้ย่อมแผ่ออกไปกว้างไกลไพศาลมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ
น่าจะตกกระทบไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือแม้กระทั่ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ซึ่งอยู่ใน “กลุ่ม 3 ป.”
หากมองจากฐานอันเป็นธรรมชาติของการต่อสู้เพื่อชิงความได้เปรียบในทางการเมือง ท่าทีแบบนี้ของพรรคพลังประชารัฐเป็น เรื่องธรรมดาอย่างยิ่ง
เพราะในการต่อสู้เมื่อเดือนมีนาคม 2562 ระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นเช่นนี้
ไม่ว่าในพื้นที่ “ภาคใต้” ไม่ว่าในพื้นที่ “กทม.”
จึงเป็นเรื่องปกติที่เมื่อพื้นที่ในนครศรีธรรมราชว่างลงพรรคประชาธิปัตย์ย่อมต้องการเพิ่มตัวเลขให้กับตนเองแม้จะต้องแย่งชิงมาจากพันธมิตรอย่างพรรคประชาธิปัตย์ก็ตาม
ปมเงื่อนอยู่ที่ว่านับแต่ตัดสินใจขานชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอ ชา เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 กระบวนท่าทางการ เมืองของพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างไร
วางตัวให้แกนใหญ่อย่างพรรคพลังประชารัฐ “เกรงใจ” หรือยิ่งอยู่ร่วมยิ่งไม่จำเป็นต้องเคารพหรือมีความเกรงอกเกรงใจอย่างใด
กระนั้น ความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมากก็คือการแย่งชิงพื้นที่ในนคร ศรีธรรมราชครั้งนี้อยู่ระหว่างญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
ห้วงยามนี้จึงท้าทายต่อบทบาท พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างเป็นพิเศษ เป็นบทบาทและศักยภาพในการนำว่าเป็นเช่นใด
พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ ยอมรับหรือไม่