เตรียมปิดงานวิจัย เรื่องพญานาคในไทย พร้อมจัดบวงสรวงที่พระธาตุพนม ก.ค.-ส.ค.นี้
เมื่อวันที่ 9 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.นครศรีธรรมราชศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชสถาบันโพธิคยา วิชชาลัย 980 ร่วมกับคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดทำงานวิจัยเรื่องอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในภูมิภาคลุ่ม แม่น้ำโขง
โดยได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิวีระภุชงค์ และสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เป็นวันที่ 2 เพื่อสรุปเก็บข้อมูลงานวิจัยให้เสร็จเรียบร้อย และจะประกาศให้ประชาชนทราบการงานวิจัยได้ทำเสร็จสมบูรณ์แล้วและจะประกาศในเดือน กค.-ส.ค.ที่พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม และในปีหน้าทางสถาบันโพธิคยาฯจะจัดธรรมยาตรา 7 แผ่นดิน จะมีประเทศที่เข้าร่วมเพิ่มขึ้นจาก 5 ประเทศคือจีนและอินเดีย
นำโดยพระมธีวรญาณ, ผศ.ดร. รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพุทธศาสตร์ (ส่วนกลาง) ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะภาค 10 พระมหายุทธนา นรเชฏโฐ หัวหน้าโครงการงานวิจัย พระครูปลัดเจริญ วฑฺฒโน ปอ.ส่วนงานบริหาร นายอภัย จันทนจุลกะ อดีต รมว.กระทรวงแรงงาน ที่ปรึกษาสถาบัน นายสุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการฯ นายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการฯ นายสุรพล มณีพงษ์ รองเลขาธิการฯ นายพรเทพ อำพรแก้ว ที่ปรึกษาสถาบันฯ น.ส.อัจฉราวดี แมนชาติ ผู้ช่วยเลขาธิการฯ น.ส.พารณี เจียรเกียรติ ผู้ช่วยเลขาธิการฯ น.ส.อันนา สุกสุกรี ผู้ช่วยเลขาธิการฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช คณะวิจัยฯได้ขอข้อมูจากคณะผู้เชี่ยวชาญ จากนางพัทยา ทองเสภาปอ.สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.นครศรีธรรมราช และพระราชวิสุทธิกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ เจ้าคณะภาค 16 ธรรมยุต พระราชวิสุทธิกวี กล่าวว่า ความเชื่อของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชในเรื่องของพญานาค ถ้าพูดกันแบบไม่เกรงใจพญานาคมีบทบาทน้อยมาก จะมีชื่อเสียงในเรื่องท้าวจตุคาม
แต่วิถีชาวบ้านเรียกพญานาคว่า ทวด หรือเทวดา งูใหญ่มีหงอน ซึ่งทวด จะปกปักรักษาคุ้มครอง พญานาคนี่ความเชื่อของคนใต้คนอีสานคนละเรื่องกัน แต่ตามวัดต่างๆ จะมีรูปพญานาค แต่ความเชื่อต่างกัน สมัยอาตมาเด็กได้ฟังมา ทวด อาจจะมีในรูปแบบไหนก็ได้ มีอิทธิฤิทธิ์ หรือเป็นสัตว์อื่น สรุปพญานาคชาวบ้านนครศรีธรรมชาติเรื่องทวด
จากนั้นทาง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้พาไปดู พระมธีวรญาณ กล่าวว่า สรุปวันนี้ จ.นครศรีธรรมราช ระบุว่าพญานาค บรรพบุรุษ เปรียบเหมือนเทวดา ได้รับการยกย่องเป็นเจ้าที่ เพราะว่านาคอยู่ในวิถีชีวิต เพราะนาคเป็นเจ้าแห่งนาแห่งนาค นาคเฝ้าดูแลพระบรมสารีรกธาตุ ที่เข้าไปดูในพระมหาธาตุจะเจอสิงห์ เสือ หมี ท้าวจตุโล บาล และครุฑ และท้าวจตุคามรามเทพลอยพระบาท มีรูปปั้นนาคตน อยู่ด้านหน้า นอกจากนี้ตรงฐานพระธาตุมีทรงเรือนแก้วปั้นเป็นพญานาค 3 ตน จากไปดูในเจดีย์พระมหาธาตุแสดงว่าคนนครศรีธรรมราชก็มีความเชื่อในเรื่องพญานาคเหมือน
พระมธีวรญาณ กล่าวว่า งานวิจัยฯก็น่าจะพร้อมแล้วมีงานไม่มากต้องเสริมอีกนิด ถือว่าจะเสร็จสมบูรณ์
ส่วนพิธีปิดเรื่องการวิจัยเรื่องพญานาค จะทำพิธีปิดงานวิจัยในประเทศไทย จะการบวงสรวงบูชาที่พระธาตุพนม จ.นครพนม ในเดือน กค.-ส.ค.
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่